Skip to main content

การคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา: แบบจำลอง สถานการณ์จำลอง และเกม


MU-SC

 

วิชา การคิดเชิงคำนวณเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา: แบบจำลอง สถานการณ์จำลอง และเกม

Computational Thinking for Promoting  Problem Solving skills: models, simulations and Games

คำอธิบายรายวิชา

ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking)  สำหรับระดับเริ่มต้น ที่เน้นความท้าทายและสร้างแรงบันดาลใจ โดยจะเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ปัญหา ใช้ตรรกะอย่างสมเหตุผล การทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆทั้งด้านการเรียนรู้และในชีวิตประจำวัน เครื่องมือเทคโนโลยีที่ช่วยในการคิดคำนวณออกและแบบการแก้ปัญหาทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ จะถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพผ่านวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะ การสร้างแบบจำลอง (Modelling & simulations) การโค้ด (coding) และ การสร้างเกม (Game Designing)  กรณีศึกษาต่างๆจะถูกนำมาใช้ตามความเหมาะสม

ส่วนงาน คณะวิทยาศาสตร์

ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน    ภาษาไทย

ผู้รับผิดชอบรายวิชา 

รองศาสตราจารย์ ดร. วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์

email wannapong.tri@mahidol.edu, wtriampo@gmail.com 

ทีมผู้พัฒนารายวิชา

  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรินทร์ ณัฐวุฒิ
e-mail : narin.nut@mahidol.ac.th
 

นายสัจจา นะคะจัด
e-mail : sujja.nak@mahidol.ac.th

  นาย รัฐพล เสริมสุข
e-mail : ruthaphon.sre@mahidol.ac.th

 

ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา เบื้องต้น 

รายวิชาจัดอยู่ในกลุ่ม กลุ่มวิชา Soft Skills

รายวิชาจัดอยู่ในหมวด Literacy ของมหาวิทยาลัย

■ Digital Literacy (ICT, Applied Mathematics)

■ Social and Humanity Literacy (Social, Humanity, Liberal Arts, Arts, Music, Laws, Ethics, Population)

■ Science and Environment Literacy (Applied Science for Life, Environmental Responsibility)

รูปแบบการเรียน เรียนตามกำหนดเวลาโดยผู้สอน (instructor-paced)

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง Learning Outcome

LO 1 อธิบายทฤษฎีและหลักการต่างๆของการคิดเชิงคำนวณได้

LO 2 ใช้วิธีการของการคิดเชิงคำนวณได้อย่างถูกต้องตามหลักการ

LO 3 ประยุกต์ใช้การคิดเชิงคำนวณในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

LO 4 สร้างแบบจำลองหรือเกมเพื่อแก้ปัญหาหรือไขสถานการณ์ที่กำหนดได้

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ทั้งหมด 15 ชั่วโมงการเรียนรู้

 

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ต่อสัปดาห์ 4 ชั่วโมงการเรียนรู้/ต่อสัปดาห์ 

กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน

■ นักเรียน/นักศึกษา (นักเรียนมัธยมปลาย นักศึกษาทุกชั้นปี ทุกสาขาที่สนใจ โดยเฉพาะในสาย STEM )

■ กลุ่มวิชาชีพ (ทุกวิชาชีพที่สนใจ โดยเฉพาะในสาย STEM)

■ บุคคลทั่วไป (ผู้ที่สนใจ ด้านพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณเพื่อการแก้ปัญหา)

เป็นวิชาเพื่อ 

re-skill สำหรับผู้มีพื้นฐานหรือทักษะด้านการคำนวณ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อนำบริบทต่างๆมาปรับใช้ให้ฝึกหลักการณ์และวิธีการแก้ปัญหา

up-skill สำหรับผู้ที่ยังขาดทักษะด้าน การคิดเชิงคำนวณ เขียนโปรแกรมหรือโค้ด

ความรู้พื้นฐานที่ผู้สนใจเรียนวิชานี้ต้องมีมาก่อน 

ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ระดับมัธยมต้น 

ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานของผู้เรียนที่จำเป็นต้องมีมาก่อน

สามารถใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์เช่น Microsoft Office 

เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เนตเพื่อใช้งานได้ สามารถ upload และ Download โปรแกรม อาทิ ไฟล์ VDO ได้

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมภายนอก 

  1. https://code.org/curriculum/course3/1/Teacher 
  2. https://www.coursera.org/learn/computational-thinking-problem-solving 
  3. https://www.youtube.com/watch?v=mUXo-S7gzds
  4. https://www.youtube.com/watch?v=qpxLusH4quY

บทเรียนที่เกี่ยวข้อง (Related Courses)

  1. การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา https://mooc.mahidol.ac.th/courses/course-v1:SC-MOOC+SC001+2020/about 
  2. Online Course Computational Thinking and Design https://www.classcentral.com/course/mooc-ed-computational-thinking-and-design-8120 
  3. Computational Thinking for Modeling and Simulation  
    https://www.my-mooc.com/en/mooc/computational-thinking-for-modeling-and-simulation/ 

วิธีการวัดผลบนระบบออนไลน์ แบ่งเป็น 

Quiz/Test 7 ชิ้น 70 คะแนน

Final Exam 1 ชิ้น 30 คะแนน

คะแนนที่ผ่านเกณฑ์การเรียนการสอน    50% ขึ้นไป

เมื่อเรียนจบจะได้รับใบประกาศนียบัตรออนไลน์

 

Enroll
IT Development & Service Excellency
Open: Monday - Friday, 8:30 AM - 4:30 PM.
Tel: 02-849-4600 Fanpage : MUx.Mahidol