Skip to main content

การดูแลผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาล


MU-RA

 

 
คำอธิบายรายวิชา
      หลักการดูแลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเบื้องต้นที่จุดเกิดเหตุ กลไกการบาดเจ็บ การประเมินความปลอดภัยและประเมินสถานการณ์ของจุดเกิดเหตุ การประเมินและดูแลเบื้องต้นที่จุดเกิดเหตุในผู้บาดเจ็บที่มีภาวะช็อก ผู้บาดเจ็บที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณช่องอก การบาดเจ็บบริเวณช่องท้องและช่องเชิงกราน การบาดเจ็บของรยางค์ การบาดเจ็บของศีรษะ การบาดเจ็บของไขสันหลัง การดูแลผู้บาดเจ็บเด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อม สัตว์มีพิษกัด การบาดเจ็บจากสารเคมี สารชีวภาพ วัตถุระเบิด รังสี และนิวเคลียร์ การป้องกันการบาดเจ็บ

 

 
เกี่ยวกับรายวิชา
ชื่อรายวิชา (ภาษาไทย): การดูแลผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาล
ชื่อรายวิชา (ภาษาอังกฤษ): Prehospital Care for Trauma Patients
คณะ/ส่วนงานผู้พัฒนารายวิชา: ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ออนไลน์ทั้งหมด: 12  ชม.
จำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/หรือต่อครั้ง : 2 ชม.
ประเภทวิชา: Health Literacy 
ระดับของเนื้อหารายวิชา : ขั้นกลาง
รูปแบบการเรียนในรายวิชา : เรียนด้วยตนเอง (self-paced)
ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน: ภาษาไทย
Subtitle: มี
กลุ่มเป้าหมายของรายวิชา : - นักศึกษา/นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ที่มีความสนใจด้านการแพทย์ หรือด้านฉุกเฉินการแพทย์นอกโรงพยาบาล
- บุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจด้านการแพทย์ หรือด้านฉุกเฉินการแพทย์นอกโรงพยาบาล
- อื่น ๆ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่กำลังศึกษาหรือฝึกอบรมในหลักสูตรเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน เช่น แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ เป็นต้น
   
  คุณสมบัติผู้เรียน/ความรู้พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน:
  • ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
  • การซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วยฉุกเฉิน 
 
  วัตถุประสงค์การเรียนรู้:
  • LO1:รู้และเข้าใจหลักการดูแลผู้บาดเจ็บเบื้องต้นนอกโรงพยาบาล
  • LO2:รู้และเข้าใจหลักการประเมินความปลอดภัยและสถานการณ์ของจุดเกิดเหตุ
  • LO3:รู้และเข้าใจกลไกการบาดเจ็บ พยาธิสรีรวิทยาการบาดเจ็บต่ออวัยวะระบบต่างๆ ผู้บาดเจ็บกลุ่มเฉพาะ และการบาดเจ็บที่มีลักษณะเฉพาะ
  • LO4:รู้และเข้าใจวิธีการดูแลช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่จุดเกิดเหตุ และระหว่างการนำส่งโรงพยาบาล
 
  นโยบายการวัดประเมินผล เกณฑ์การให้คะแนน การผ่าน/ไม่ผ่าน และใบประกาศนียบัตร
      ผู้เรียนได้รับประกาศนียบัตรอิเล็คทรอนิกส์ เมื่อผ่านการวัดผลทั้งหมด และได้ผลการประเมินเกิน 70%

 

 ทีมผู้สอนและทีมผู้พัฒนารายวิชาออนไลน์
   
  รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
email: chaipool0634@hotmail.com
   
  นายเจษฎากร เจนพาณิชพงศ์
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
email: chetsadakon.jen@mahidol.ac.th

   
  นายสรวิชญ์ วัชรกิจไพศาล
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
email: sorawich.wat@mahidol.ac.th

 

 

Enroll
IT Development & Service Excellency
Open: Monday - Friday, 8:30 AM - 4:30 PM.
Tel: 02-849-4600 Fanpage : MUx.Mahidol