Skip to main content

การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย


MU-PH

 การตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย (Audiometry in Occupational Health)

คณะ/ส่วนงาน สาธารณสุขศาสตร์

ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ภาษาไทย  

ผู้รับผิดชอบรายวิชา

ชื่อ-นามสกุล  รองศาสตราจารย์ ดร. อรวรรณ แก้วบุญชู

email: orawan.kae@mahidol.ac.th

   

 คำอธิบายรายวิชา

ความสำคัญของการตรวจสมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย กลไกการได้ยิน การวิเคราะห์ความถี่และการวัดระดับเสียง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการได้ยิน
การเตรียมผู้รับการตรวจ สถานที่ตรวจ และอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ หลักและวิธีการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน และการแปลผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน  

 โครงสร้างเนื้อหา

บทที่ 1: บทนำ

บทที่ 2 : ส่วนประกอบของหูและกลไกการได้ยิน

บทที่ 3 : เสียงและการวัดระดับเสียง

บทที่ 4 : ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยิน  

บทที่ 5: หลักและวิธีการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน 1

บทที่ 6: หลักและวิธีการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน 2

บทที่ 7: หลักและวิธีการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน 3

บทที่ 8 : การแปลผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน

บทที่ 9 : ฝึกปฏิบัติการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน

ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา  เบื้องต้น                       

รายวิชาจัดอยู่ในกลุ่ม กลุ่มวิชาสร้างทักษะตามวิชาชีพ

รายวิชาจัดอยู่ในหมวด Literacy ของมหาวิทยาลัย : Health Literacy (Health, Sport, Nutrition)

รูปแบบการเรียน : เรียนด้วยตนเอง (self-paced)

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ออนไลน์

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ทั้งหมด       10  ชั่วโมงการเรียนรู้

 

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ต่อสัปดาห์    1 ชั่วโมงการเรียนรู้/ต่อสัปดาห์

 ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง Learning Outcome

LO 1 ผู้เรียนสามารถอธิบายความสำคัญของการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน

LO 2 ผู้เรียนสามารถอธิบายกลไกการได้ยินได้

LO 3 ผู้เรียนสามารถอธิบายคุณลักษณะของเสียง และการวัดระดับสียงได้

LO 4 ผู้เรียนสามารถอธิบายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการได้ยินได้

LO 5 ผู้เรียนสามารถตรวจสมรรถภาพการได้ยินได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล

LO 6 สามารถแปลผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน

นักเรียน/นักศึกษา (นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติอาชีวอนามัย)บุคคลทั่วไป พยาบาลประจำคลีนิคโรคจากการทำงาน พยาบาลประจำสถานประกอบการ และเจ้าหน้าที่ตรวจสมรรถภาพการได้ยินประจำหน่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่

เป็นวิชาเพื่อ re-skill เนื่องจากผู้เรียนเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน แต่ยังขาดความรู้ด้านทฤษฎี และทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่เรียนรู้จากรุ่นพี่ที่บอกต่อกันมาร่วมกับการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ดังนั้นการเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์นี้จะช่วยในการเพิ่มทักษะและความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้เรียน

ความรู้พื้นฐานที่ผู้สนใจเรียนวิชานี้ต้องมีมาก่อน

จบการศึกษาตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป มีความเข้าใจภาษาไทย อ่าน ฟัง พูดและเขียนภาษาไทยได้

ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐาน

สามารถใช้อินเตอร์เน็ต ยูทูบ และอีเมล ได้

 การนำผลการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์

ผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความสามารถในการตรวจสมรรถภาพการได้ยินได้ถูกต้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวังการได้ยินให้กับพนักงานกลุ่มเสี่ยง โดยได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เป็นการตอบสนองนโยบายของกระทรวงแรงงานตามประกาศโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบการ ปี 2553

แหล่งข้อมูลความรู้เพิ่มเติม

1. https://www.thebsa.org.uk/wp-content/uploads/2017/06/Surveillance-Aud-RP-June-2017.pdf

2. https://pdfs.semanticscholar.org/2f88/a70daa6a64c70b71a072e46de8e0d2bbc4a1.pdf?

3. https://drive.google.com/file/d/1cvNF8pGiF2Ki8wSuNGKJcoWk0M49xlkb/view

 

 การวัดและประเมินผล

ทดสอบย่อย        80%

งานมอบหมาย     20%

คะแนนที่ผ่านเกณฑ์การเรียนการสอน  90% ขึ้นไป   

 

รายวิชานี้ ท่านสามารถเรียนรู้เนื้อหาในภาคทฤษฎีได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย (จำนวน 9 บทเรียน)

หลังเรียนจบท่านจะได้รับใบประกาศนียบัตรออนไลน์ผ่านความรู้

ในการฝึกสอบปฏิบัติ เป็นการส่งชิ้นงานเป็นคลิป VDO การตรวจประเมินการได้ยิน (20 คะแนน) จำนวน 1 ชิ้นงาน
กลับมายังอาจารย์ผู้พัฒนารายวิชาตรวจประเมินก่อน เมื่อผ่านเกณฑ์จึงจะได้รับใบประกาศนียบัตรค่ะ 
โดยหลังส่งชิ้นงานในบทที่ 9 ในส่วนภาคปฏิบัติเพิ่ม ท่านสามารถติดต่ออาจารย์ผู้พัฒนารายวิชา ทางอีเมลอาจารย์ orawan.kae@mahidol.ac.th
เพื่อให้ท่าน อ. รับทราบการส่งชิ้นงานข้างต้นและทำการตรวจแบบฝึกสอบปฎิบัติใหท่าน

Enroll
IT Development & Service Excellency
Open: Monday - Friday, 8:30 AM - 4:30 PM.
Tel: 02-849-4600 Fanpage : MUx.Mahidol