Skip to main content

เกษตรปราชญ์เปรื่องสู่การเป็นผู้ประกอบการ (SMART Farmer to Entrepreneur)


MU-NA

เกษตรปราชญ์เปรื่องสู่การเป็นผู้ประกอบการ (SMART Farmer to Entrepreneur)

คณะ/ส่วนงาน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ภาษาไทย

ข้อมูลผู้รับผิดชอบและพัฒนารายวิชา 

 

 

ชื่อ–นามสกุล อ.ดร. พรพิรัตน์ คันธธาศิริ
e-mail : pornpiratk@gmail.com

   
   

 

ชื่อ-นามสกุล อ. ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร                             
e-mail taeprayoon_63@hotmail.com และ taeprayoon.63@gmail.com 

คำอธิบายรายวิชา

สร้างมุมมอง ทัศนะ และทักษะในการจัดการธุรกิจ การพัฒนาแนวคิดธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือประกอบการเรียนรู้และวิเคราะห์ลักษณะ รูปแบบของการประกอบการในภาคการการเกษตรที่มีขนาดองค์กร และลักษณะธุรกิจที่แตกต่างกัน เช่น การผลิต การแปรรูป รวมทั้งการจำหน่าย ในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต โอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ บนฐานความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในลงทุนทางธุรกิจในอนาคต 

ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา  ขั้นกลาง

รายวิชาจัดอยู่ในกลุ่ม กลุ่มวิชาสำหรับเรียนล่วงหน้าของหลักสูตร

รายวิชาจัดอยู่ในหมวด Literacy ของมหาวิทยาลัย

  • Science and Environment Literacy (Applied Science for Life, Environmental Responsibility)
  • Finance and Management Literacy (Finance, Management, Entrepreneur)

รูปแบบการเรียน เรียนตามกำหนดเวลาโดยผู้สอน (instructor-paced)

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ทั้งหมด 15 ชั่วโมงการเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ต่อสัปดาห์ 3 ชั่วโมงการเรียนรู้/ต่อสัปดาห์

 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง Learning Outcome 

LO 1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการประกอบธุรกิจ

LO 2 ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการประกอบธุรกิจสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรปราชญ์เปรื่อง

LO 3 เขียนแผนธุรกิจด้านการทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ 

กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน 

  • นักเรียน/นักศึกษา (นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง)
  • บุคคลทั่วไป (เกษตรกรที่สนใจมีความรู้รอบด้านทางธุรกิจ และการเขียนแผนธุรกิจ) 

re-skill ทบทวนความรู้รอบด้าน สำหรับการบริหารธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องรู้

up-skill เพิ่มทักษะด้านการทำธุรกิจเกษตรหลายด้าน และสามารถวางแผนการทำธุรกิจเกษตรให้มีความยั่งยืน ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ความรู้พื้นฐานที่ผู้สนใจเรียนวิชานี้ต้องมีมาก่อน 

ผู้เรียนควรมีพื้นฐานความรู้เรื่องบริหารธุรกิจเบื้องต้นมาก่อน เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชาได้อย่างต่อเนื่อง

ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนที่จำเป็นต้องมีมาก่อน

ผู้เรียนควรมีพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ได้ สามารถใช้โปรแกรม MS Word ได้ และสามารถใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงเว็บต่างๆ ได้ 

การนำผลการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ 

ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียน ไปใช้ทำธุรกิจเกษตรตามที่สนใจได้จริง ภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์ของพระราชาในการพัฒนาเกษตรของไทยให้ก้าวหน้า สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน นอกจากนี้ผู้เรียนมีแผนธุรกิจที่สามารถนำไปใช้พัฒนาธุรกิจของตนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำใบ certificate ไปใช้ประโยชน์ควบคู่กับการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้

 แหล่งข้อมูลความรู้เพิ่มเติม

  • https://coreportal.smebank.co.th/member-course.php?more_id=290&fbclid=IwAR0o2lwfyfy2ocyfKxfWw4phMzIqyQI0EQApaK3heAJD5TWO2fv4tc0uk4s

บทเรียนที่เกี่ยวข้อง (Related Courses)

1.รายวิชาพื้นฐานการประกอบการยุค 4.0
   Source: MUx

 การออกแบบการวัดและประเมินผล

  • Assignment 20%
  • Quiz40%
  • Final Exam 40%

 เกณฑ์การเรียนการสอนออนไลน์ผ่าน 60% ขึ้นไป 

 

Enroll
IT Development & Service Excellency
Open: Monday - Friday, 8:30 AM - 4:30 PM.
Tel: 02-849-4600 Fanpage : MUx.Mahidol