ชื่อรายวิชา (Course Title Name)
ชื่อวิชาภาษาไทย หมอดิน (นวกษ 232)
ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ Soil Doctor (NWSF232)
คณะ/ส่วนงาน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ภาษาไทย
ข้อมูลผู้รับผิดชอบและพัฒนารายวิชา
ชื่อ-นามสกุล อ. ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร |
|
ชื่อ–นามสกุล อ.ดร. พรพิรัตน์ คันธธาศิริ |
|
คำอธิบายรายวิชา
ความสำคัญของดิน ลักษณะดินทางกายภาพและชีวภาพ การสำรวจดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน นิเวศวิทยาของดิน การวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน ความสัมพันธ์ระหว่างดินและพืช การวินิจฉัยความปกติชองพืชจากธาตุอาหาร ตลอดจนศึกษาปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ มลพิษในดินต่อพื้นที่ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ระบบข้อมูลสารสนเทศ และฐานข้อมูลดิน เพื่อการนำไปสู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการดินเพื่อการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา ขั้นกลาง
รายวิชาจัดอยู่ในกลุ่ม กลุ่มวิชาสำหรับเรียนล่วงหน้าของหลักสูตร
รายวิชาจัดอยู่ในหมวด Literacy ของมหาวิทยาลัย
Science and Environment Literacy (Applied Science for Life, Environmental Responsibility)
รูปแบบการเรียน เรียนตามกำหนดเวลาโดยผู้สอน (instructor-paced)
จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ออนไลน์ 15 ชั่วโมงการเรียนรู้
จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ต่อสัปดาห์ 3 ชั่วโมงการเรียนรู้/ต่อสัปดาห์
โครงสร้างเนื้อหา
สัปดาห์ที่ 1: อาณาจักร ”ดิน”
สัปดาห์ที่ 2: ลักษณะและสมบัติที่สำคัญของดิน
สัปดาห์ที่ 3: เรียนรู้เรื่องดิน
สัปดาห์ที่ 4: ฐานข้อมูลดิน
สัปดาห์ที่ 5: ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง Learning Outcome
LO1 | มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับดิน ทั้งทางกายภาพ และชีวภาพ รวมทั้งสามารถสืบค้นข้อมูลพื้นฐานของดินได้ |
LO2 | สามารถวางแผนการจัดการดินในการทำการเกษตรกรรมได้ถูกต้องเหมาะสมและยั่งยืน |
LO3 | ตระหนักและเข้าใจในการใช้ทรัพยากรดินอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม |
กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน
- นักเรียน/นักศึกษา ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรเกษตรกรปราดเปรื่อง, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์, นักเรียนระดับ ปวช. และ ปวส. สายเกษตร
- บุคคลทั่วไป ได้แก่ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย, ผู้ที่ต้องการผลิตพืช, ผู้ที่สนใจศึกษาต่อทางด้านการเกษตร, ผู้ประกอบการเกษตร
re-skill
ผู้ที่มีพื้นฐานทางการเกษตร หรือ ผู้ที่กำลังทำการเกษตร สามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์เกษตร ด้วยการเรียนบทเรียนออนไลน์นี้ เนื่องจากในเนื้อหาของการเรียนจะมีการนำเสนอเทคโนโลยี วิธีการ และแนวคิดใหม่ๆ ในการทำการเกษตรบนพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งที่เป็นพื้นฐาน และเชิงลึก ในรูปแบบการนำเสนอที่เข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย จึงช่วยส่งเสริมการ re-skill ให้กับผู้ที่มีพื้นฐานมาบ้าง หรือ ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานแต่มีความสนใจได้นำไปใช้ และต่อยอดได้
up-skill
รายวิชานี้มีเนื้อหาองค์ความรู้ทางการเกษตรที่ทันใหม่และตอบสนองต่อการพัฒนา SMART Farmer และผู้ที่สนใจให้มีความรู้และทักษะทางการเกษตรสมัยใหม่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบกับแนวทางพัฒนาขององค์กรยุคใหม่ใน 3 ด้านหลัก คือ Product Process และ People เพื่อให้สอดรับกับกลยุทธ์การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของบุคลากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่าเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย มีความจำเป็นที่จะต้องวางรากฐานองค์ความรู้ที่ทันใหม่ให้กับคนรุ่นใหม่ที่จะสานต่องานการเกษตร ซึ่งเป็นเสาหลักอาชีพและรายได้ของประเทศ ให้บรรลุตามผลลัพธ์สุดท้ายที่คาดหวัง (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1 แสดงกรอบการพัฒนายุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(แหล่งที่มา : http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER049 /GENERAL/DATA0000/00000022.PDF)
ผู้เรียน/รอบการเปิดสอน 50 คน
ความรู้พื้นฐานที่ผู้สนใจเรียนวิชา
สำหรับรายวิชาหมอดิน จัดอยู่ในกลุ่มวิชาเฉพาะพื้นฐาน รายวิชาในกลุ่มคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง โดยเนื้อหารายวิชาจะเกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของดิน จึงแนะนำให้ผู้ที่สนใจมีความพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทั่วไปมาก่อน เช่น ชีววิทยา และเคมี เป็นต้น อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ก็สามารถเข้ามาเรียนได้ โดยในรายวิชาจะมีเอกสารประกอบการสอน รวมไปถึงแหล่งความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้
ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานของผู้เรียนที่จำเป็นต้องมี
- ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไอที และติดต่อสื่อสารบนสื่ออินเทอร์เน็ต
- ทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างความปลอดภัย ได้แก่ การใช้บัญชีรายชื่อส่วนบุคคล การป้องกันมัลแวร์
- ทักษะในการสืบค้นผ่านเครื่องมือค้นหา (search engine) ที่มีประสิทธิภาพจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
- ทักษะจัดเก็บข้อมูล เช่น ทักษะการจัดเก็บข้อความ การจัดเก็บภาพ การจัดเก็บภาพและเสียง เพื่อให้ใช้งานขณะที่ออกจากอินเทอร์เน็ตได้
การนำผลการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ / การตอบสนองความต้องการทางสังคม
สามารถนำ certificate ที่ได้จากรายวิชาไปใช้ในการเรียนล่วงหน้า เพื่อเก็บสะสมหน่วยกิตในระบบ MU Credit Bank System ของมหาวิทยาลัยในอนาคตได้ อีกทั้งในปัจจุบันมีผู้ที่มีความสนใจสุขภาพมากขึ้น จึงหันมาทำการเกษตรด้วยตนเอง ทั้งเพื่อารบริโภคในครัวเรือน และเป็นอาชีพ ทั้งอาชีพหลัก อาชีพรอง และอาชีพเสริม ซึ่งผู้ที่มีความสนใจทางการเกษตรนั้น ไม่เพียงแต่อยู่ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร แต่ยังมีผู้ที่สนใจที่มาจากสาขาวิชาอื่นๆด้วย ตามที่เราอาจได้เคยเห็นในสื่อโซเซียลมีเดียต่างๆเช่น ผู้ที่เรียนจบวิศวะ หรือ จบแพทย์ก็หันมาทำการเกษตรมากขึ้น ดังนั้น การได้มีบทเรียนออนไลน์ในเรื่องของการผลิตพืชนั้นจะเป็นประโยชน์ และเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้แก่ผู้ที่สนใจต่อไปในอนาคตได้
แหล่งข้อมูลความรู้เพิ่มเติมที่น่าเชื่อถือใน Internet ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหารายวิชา
1. กรมพัฒนาที่ดิน http://www.ldd.go.th
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.moac.go.th/king-soil
3. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) https://hkm.hrdi.or.th
4. มูลนิธิชัยพัฒนา (โครงการพระราชดำริ) https:// www.chaipat.or.th
บทเรียนที่เกี่ยวข้อง (Related Courses)
1. Title: Sustainable Agricultural and Land Management
Offered by: University of Florida
Source: COURSERA
2. Title: เทคโนโลยีเกษตรสำหรับคนเกษตร
Offered by: DEPA (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
Source: Thai MOOC
การวัดผลบนระบบออนไลน์ |
- Quiz 4 ชุด 40 คะแนน |
- Assignment / Homework 4 ชิ้นงาน 40 คะแนน |
- Participation 2 ชิ้นงาน 20 คะแนน |
คะแนนที่ผ่านเกณฑ์การเรียนการสอน 70% ขึ้นไป |