Skip to main content

ระบบการทำฟาร์มพืชแบบผสมผสาน (Integrated Crop Production in Farming System)


MU-NA

 

นวกษ 243 ระบบการทำฟาร์มผลิตพืชผสมผสาน (NWSF243 Integrated Crop Production in Farming System)

คณะ/ส่วนงาน โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ภาษาไทย       

ข้อมูลผู้รับผิดชอบรายวิชา 

 

 

ชื่อ-นามสกุล อ. ดร. ปัณฑารีย์ แต้ประยูร                             
e-mail taeprayoon_63@hotmail.com และ taeprayoon.63@gmail.com   

   
 

 

ชื่อ–นามสกุล อ.ดร. พรพิรัตน์ คันธธาศิริ
e-mail : pornpiratk@gmail.com

 

คำอธิบายรายวิชา            

ระบบการปลูกพืช การเพิ่มศักยภาพการผลิตพืช สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช การผลิตเมล็ดพันธุ์พืช การปรับปรุงพันธุ์พืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ระบบการให้น้ำ เครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงทางการเกษตร วิทยาการจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวของพืชสวนและพืชไร่ สรีรวิทยาของพืชภายใต้สภาวะแวดล้อมวิกฤต การผลิตพืชภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร            

ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา  ขั้นกลาง

รายวิชาจัดอยู่ในกลุ่ม กลุ่มวิชาสำหรับเรียนล่วงหน้าของหลักสูตร

รายวิชาจัดอยู่ในหมวด Literacy ของมหาวิทยาลัย

Science and Environment Literacy (Applied Science for Life, Environmental Responsibility)

รูปแบบการเรียน เรียนตามกำหนดเวลาโดยผู้สอน (instructor-paced)

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ทั้งหมด 15 ชั่วโมงการเรียนรู้

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ต่อสัปดาห์ 3 ชั่วโมงการเรียนรู้/ต่อสัปดาห์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง Learning Outcome 

LO 1 มีความรู้และเข้าใจในการผลิตพืชอย่างบูรณาการ

LO 2 สามารถวางแผนการปลูกพืชได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อม

LO 3 ค้นคว้าหาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพืช

กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน 

  • นักเรียน/นักศึกษา ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรเกษตรกรปราดเปรื่อง, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทย์, นักเรียนระดับ ปวช. และ ปวส. สายเกษตร
  • บุคคลทั่วไป ได้แก่ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย, ผู้ที่ต้องการผลิตพืช, ผู้ที่สนใจศึกษาต่อทางด้านการเกษตร, ผู้ประกอบการเกษตร

re-skill ผู้ที่มีพื้นฐานทางการเกษตร หรือ ผู้ที่กำลังทำการเกษตร สามารถเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์เกษตร ด้วยการเรียนบทเรียนออนไลน์นี้ เนื่องจากในเนื้อหาของการเรียนจะมีการนำเสนอเทคโนโลยี วิธีการ และแนวคิดใหม่ๆ ในการทำการเกษตรบนพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งที่เป็นพื้นฐาน และเชิงลึก ในรูปแบบการนำเสนอที่เข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย จึงช่วยส่งเสริมการ re-skill ให้กับผู้ที่มีพื้นฐานมาบ้าง หรือ ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานแต่มีความสนใจได้นำไปใช้ และต่อยอดได้

up-skill รายวิชานี้มีเนื้อหาองค์ความรู้ทางการเกษตรที่ทันใหม่และตอบสนองต่อการพัฒนา SMART Farmer และผู้ที่สนใจให้มีความรู้และทักษะทางการเกษตรสมัยใหม่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบกับแนวทางพัฒนาขององค์กรยุคใหม่ใน 3 ด้านหลัก คือ Product Process และ People เพื่อให้สอดรับกับกลยุทธ์การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของบุคลากรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น กล่าวโดยสรุปได้ว่าเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย มีความจำเป็นที่จะต้องวางรากฐานองค์ความรู้ที่ทันใหม่ให้กับคนรุ่นใหม่ที่จะสานต่องานการเกษตร ซึ่งเป็นเสาหลักอาชีพและรายได้ของประเทศ ให้บรรลุตามผลลัพธ์สุดท้ายที่คาดหวัง 

ความรู้พื้นฐานที่ผู้สนใจเรียนวิชานี้ต้องมีมาก่อน 

สำหรับรายวิชา นวกษ 243 ระบบการทำฟาร์มผลิตพืชผสมผสาน จัดอยู่ในกลุ่มวิชาเฉพาะพื้นฐาน รายวิชาในกลุ่มคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรกรปราชญ์เปรื่อง โดยเนื้อหารายวิชาจะเกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การผลิตพืช เทคโนโลยี และเพิ่มศักยภาพการผลิตพืช โดยผู้ที่สนใจทั่วไป ก็สามารถเข้ามาเรียนได้ โดยในรายวิชาจะมีเอกสารประกอบการสอน รวมไปถึงแหล่งความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตามผู้สอนแนะนำให้เรียนควบคู่ไปกับรายวิชา นวกษ๒๓๒ หมอดิน เพื่อความเข้าใจอย่างบูรณาการยิ่งขึ้น

ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนที่จำเป็นต้องมีมาก่อน

สำหรับผู้เรียนที่ในรายวิชานี้ ควรมีทักษะ DL (digital literacy) ดังนี้ 

- ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไอที และติดต่อสื่อสารบนสื่ออินเทอร์เน็ต 

- ทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างความปลอดภัย ได้แก่ การใช้บัญชีรายชื่อส่วนบุคคล การป้องกันมัลแวร์ 

- ทักษะในการสืบค้นผ่านเครื่องมือค้นหา (search engine) ที่มีประสิทธิภาพจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ

- ทักษะจัดเก็บข้อมูล เช่น ทักษะการจัดเก็บข้อความ การจัดเก็บภาพ การจัดเก็บภาพและเสียง เพื่อให้ใช้งานขณะที่ออกจากอินเทอร์เน็ตได้

การนำผลการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ 

สามารถนำ certificate ที่ได้จากรายวิชาไปใช้ในการเรียนล่วงหน้า เพื่อเก็บสะสมหน่วยกิตในระบบ MU Credit Bank System ของมหาวิทยาลัยในอนาคตได้ อีกทั้งในปัจจุบันมีผู้ที่มีความสนใจสุขภาพมากขึ้น จึงหันมาทำการเกษตรด้วยตนเอง ทั้งเพื่อารบริโภคในครัวเรือน และเป็นอาชีพ ทั้งอาชีพหลัก อาชีพรอง และอาชีพเสริม ซึ่งผู้ที่มีความสนใจทางการเกษตรนั้น ไม่เพียงแต่อยู่ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร แต่ยังมีผู้ที่สนใจที่มาจากสาขาวิชาอื่นๆด้วย ตามที่เราอาจได้เคยเห็นในสื่อโซเซียลมีเดียต่างๆเช่น คนจบวิศวะ หรือ จบแพทย์ก็หันมาทำการเกษตรมากขึ้น ดังนั้น การได้มีบทเรียนออนไลน์ในเรื่องของการผลิตพืชนั้นจะเป็นประโยชน์ และเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้แก่ผู้ที่สนใจต่อไปในอนาคตได้

แหล่งข้อมูลความรู้เพิ่มเติม

  • กรมพัฒนาที่ดิน http://www.ldd.go.th
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.moac.go.th/king-soil
  • กรมวิชาการเกษตร  http://www.doa.go.th

บทเรียนที่เกี่ยวข้อง (Related Courses)

1. Title: Geographic Information Systems (GIS)

Offered by: University of California

Source: COURSERA

2. Title: เกษตรยุคใหม่ต้องรู้ (SMART Farmer)

Offered by: DEPA (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)

Source: Thai MOOC

3. Title: IoT ระบบน้ำอัจฉริยะสำหรับภาคการเกษตร

Offered by: DEPA (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)

Source: Thai MOOC

การออกแบบการวัดและประเมินผล

  • Pre-test10%
  • Assignment / Homework 30%
  • Quiz40%
  • Participation 20%

เกณฑ์การเรียนการสอนออนไลน์ผ่าน 70% ขึ้นไป 

Enroll
IT Development & Service Excellency
Open: Monday - Friday, 8:30 AM - 4:30 PM.
Tel: 02-849-4600 Fanpage : MUx.Mahidol